หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
ความหมายของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
นวัตกรรม
ความหมายของนวัตกรรม
นวัตกรรม
(Innovation)
หมายถึง การนำความคิดใหม่ๆ วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ
หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ หรืออาจจะได้รับการปรับปรุงจากสิ่งดั้งเดิมให้ดีขึ้น
เหมาะสมกับสถานการณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้รับการทดลอง
พิสูจน์และพัฒนาเป็นขั้นเป็นตอน เป็นระบบ จนเชื่อถือได้ว่าให้ผลที่ดีกว่าเดิม
นำมาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติทางการศึกษา
เป็นผลทำให้ประสิทธิภาพทางการศึกษาสูงขึ้นนวัตกรรม
3ระยะ
ระยะที่ 1
มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation)
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development)
ระยะที่ 3
การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป
นักการศึกษาให้คำนิยามของคำว่า นวัตกรรม ดังนี้
1. กรมวิชาการ (2521
: 15) ให้ความหมายว่า นวัตกรรมคือ การนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมวิธีการที่มีอยู่เดิม
เพื่อให้ผลดียิ่งขึ้น
2. (UNESCO)
ให้ความหมายไว้ว่า เป็นความพยายามที่จะ
เปลี่ยนแปลงภายในระบบการศึกษา อันกระทำไปด้วยความตั้งใจ
และมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงระบบการศึกษา
3.
ท่อม ฮิวช์ (Thomas Hughes, 1971) ได้ให้ความหมาย ” นวัตกรรม ” ว่าเป็นการนำวิธีการใหม่ๆ มา ปฏิบัติ
หลังจากได้ผ่านการทดลอง หรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆ แล้ว
โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development)
ซึ่งอาจมีการทดลองปฏิบัติก่อน(Pilot project)
แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
4.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2521 : 3-4) ได้ให้ความหมายไว้ว่า หลักการวิธีปฏิบัติ
และแนวคิดอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งไม่ถือว่า เป็นนวัตกรรมของประเทศหนึ่ง
อาจจะเป็นนวัตกรรมของประเทศอื่นก็ได้
และสิ่งที่ถือว่าเป็นวัตกรรมแล้วในอดีตหากมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย
แล้วก็ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม แต่สิ่งที่ใช้ไม่ได้ผลในอดีตหากมีการนำ
มาปรับปรุงใช้ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ สิ่งนั้นถือได้ว่าเป็นนวัตกรรม
5.
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526) ได้ให้ความหมาย ” นวัตกรรม
” ไว้ว่า หมายถึงวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิม
โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆขึ้นมา
หรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม ทั้งนี้สิ่งนั้น ๆ
ได้รับการพัฒนาทดลองจนเชื่อถือได้ว่า
ให้ผลดีในทางปฏิบัติทำให้เกิดประสิทธิภาพตามเป้าหมาย
ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
1. เป็นความคิดและกระบวนการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่สิ่งที่เคยมีนำมาปรับปรุงใหม่ให้ดียิ่งขึ้น
3. มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจนโดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ ข้อมูล กระบวนการ และผลลัพธ์
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของระบบงานในปัจจุบัน
2. นวัตกรรมการเรียนการสอน
3. นวัตกรรมสื่อการสอน
4. นวัตกรรมการประเมินผล
5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ
1. เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการนำเสนอ
2. เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการศึกษาและการเรียนรู้
3. เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการบริหารจัดการเครือข่าย
4. เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการบริหารข้อมูลและหลักสูตร
ความหมาย แนวคิด ทฤษฎี ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
ความหมาย แนวคิด ทฤษฎี ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง
นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย
ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง
โดยสรุป “นวัตกรรมการศึกษา”(Educational Innovation) คือ
การนำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ หรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้น
ทั้งในส่วนที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งที่มีอยู่แต่เดิม
ให้ดีขึ้น โดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี
ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้นำมาใช้บังเกิดผลเพิ่มพูนประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้
ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นนวัตกรรมที่มีขอบเขต
เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทุกด้าน ตั้งแต่หลักสูตร การเรียนการสอน
สื่อและเทคโนโลยี ทางการศึกษา การวัดและประเมินผล และการบริหาร ทัศนา แขมมณี (2526
: 13) และวาทิต ระถี (2531) ได้แบ่งประเภทนวัตกรรมการศึกษาออกเป็น 5 ด้าน คือ
วสันต์ อติศัพท์
กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม หรือ นวกรรม เป็นคำสมาสระหว่าง “นว” และ “กรรม” ซึ่งมีความหมายว่า ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ
ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า
คณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ บัญญัติ คำว่า นวัตกรรม (Innovation) ขึ้นเดิมใช้ นวกรรม มาจากคำกริยาว่า Innovate มาจากรากศัพท์
ภาษาอังกฤษว่า Inovare (in(=in)+novare= to renew, to modify) และnovare มาจากคำว่า novus (=new)
Innovate
แปลตามรูปศัพท์ได้ว่า "ทำใหม่,เปลี่ยนแปลงโดยนำสิ่งใหม่ๆ
เข้ามา "Innovation = การทำสิ่งใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ
ที่ทำขึ้นมา (International Dictionary)
กิดานันท์ มลิทอง
(2543 : 245) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม เป็นแนวความคิด
การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational
Innovation) หมายถึง
การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน
เช่น การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive
Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต
เหล่านี้เป็นต้น
นวัตกรรม (Innovation) ในการจัดการเรียนการสอน เช่น การใช้เทคนิคและวิธีการใหม่
ใช้วิธีการสอนแบบใหม่ เปลี่ยนไปจากการใช้วิธีบรรยาย ซักถามธรรมดา การผลิตวัสดุ
อุปกรณ์ใหม่ ๆ ขึ้นมาใช้ในการเรียนการสอน (Instructional Materials) การจัดทำ จัดหาพวกวัสดุ อุปกรณ์ที่ทำขึ้นเองได้ ซึ่งเป็นพวก Software
เช่น การทำแผนภาพ แผนภูมิ หาวัสดุในท้องถิ่นเป็นอุปกรณ์ในการสอน
การจัดทำ “บทเรียนสำเร็จรูป”
“บทเรียนโปรแกรม” เพื่อใช้ในการเรียนการสอนและการสอนซ่อมเสริม
การจัดให้นักเรียนเก่งช่วยนักเรียนอ่อน ให้นักเรียนเป็นผู้ช่วยครู (Teacher
assistant) เป็นต้น
เทคโนโลยีการศึกษา
จากการรบวรวมของ นายนิคม พวงรัตน์ ปริญญานิพนธ์ ศษ.ม. เทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ได้กล่าวเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาว่า
กู๊ด (Good,
1963 :592 ) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง
การประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์
และเครื่องมือของระบบการสอนเพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอน
เคนเนท (Kencth,1955
: 128 ) กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง
การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้สำหรับการเรียนการสอน
เพื่อช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์
เพื่อนำมาผลิตอุปกรณ์ เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ นำมาใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เทคโนโลยี(Technology) ในการจัดการเรียนการสอนเช่นโรงเรียนที่มีคอมพิวเตอร์ใช้คอมพิวเตอร์ให้นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้ด้วยการปฏิบัติตามขั้นตอน
นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนของการเรียนรู้ที่ซอฟแวร์ในคอมพิวเตอร์สั่งการตามลำดับขั้นการใช้วิดีโอเทปการใช้วิทยุใช้โทรทัศน์ช่วยสอนรับบทเรียนทางไกลของกรมการศึกษานอกโรงเรียน
กระทรวงศึกษาธิการ เช่น การรับบทเรียนของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เป็นการอาศัยการใช้เครื่องช่วยสอน เป็นต้น
การใช้นวัตกรรม(Innovation)และเทคโนโลยี(Technology)ในการจัดการศึกษาคือใช้ในการเรียนการสอนถ้าใช้ทั้ง2อย่างร่วมกันด้วยการนำเอาเทคนิคและสิ่งประดิษฐ์ใหม่
ๆทางวิทยาศาสตร์มาใช้เรียก“INNOTECH”ซึ่งมาจากคำเต็มว่า“Innovation
Technology”เป็นการนำเอาคำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน
ในปัจจุบันถือว่าเป็นความจำเป็นที่โรงเรียนจะต้องนำเอาหลักวิชาใหม่ๆประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นใช้และใช้เทคนิคใหม่ๆที่เป็นInnovation
มาใช้ร่วมกันไปกับสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นอุปกรณ์สำเร็จรูปเป็นเครื่องช่วยสอนซึ่งเป็นTechnologyนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนไปว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องนำ INNOTECH
เข้ามาใช้ในโรงเรียนหรือสถานศึกษา
เทคโนโลยี
"เทคโนโลยีการศึกษา"หมายถึง
การนำความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ทั้งวัสดุ
อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลไก และเทคนิควิธีการต่างๆ
มาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อมุ่งหวัง
ให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน ผู้ศึกษา ตามจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรนั้นๆ
อิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์
(Globalization) ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาระบบการศึกษาของไทย
ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา
บทบาทของเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารได้ส่งผลต่อกลไกในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโลก
อย่างที่ Peter Drucker ได้กล่าวว่า “ความรู้ไม่มีพรมแดน”
(Knowledge knows no boundaries) และด้วยปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้นักคิดอย่าง
Don Tapscott ระบุคุณลักษณะของเศรษฐกิจใหม่ (New
Economy) ของโลกตั้งแต่สังคมบนพื้นฐานของระบบดิจิตอล (Digitization)
ไปจนถึงความเป็นโลกาภิวัตน์ (Globalization) ทั้งนี้โดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นตัวจักรสำคัญต่อความเปลี่ยนแปลงนี้
ศาสตราจารย์ จอห์น โดโนแวน (Donovan) แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT)
กล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของระบบอินเทอร์เน็ตว่า
เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง นอกจากนี้ บิล
เกตส์ (Bill Gates)แห่งไมโครซอฟต์
ซึ่งมองเห็นคุณค่ามหาศาลของโลกาภิวัตน์ (Globalization) ที่ข้อมูลความรู้จากทั่วทุกมุมโลกต่างเชื่อมโยงถึงกันผ่านทางด่วนสารสนเทศซึ่งจะอำนวยผลประโยชน์แก่วงการศึกษา
ส่วนสังคมใดจะได้ประโยชน์มากน้อยจากกระแสของโลกาภิวัตน์นี้ ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อม
และกลไกการพัฒนา การเข้าถึงของสังคมนั้นๆ ในทางตรงกันข้าม
กระแสโลกาภิวัตน์สามารถส่งผลกระทบในเชิงลบต่อสังคมที่ขาดความพร้อม ในการพัฒนา
การเข้าถึง รวมถึงพื้นฐานของสังคมที่ยังขาดความเข้าใจและความเข้มแข็งด้านเทคโนโลยีได้เช่นเดียวกัน
กลไกการจัดการเรียนรู้หรือการศึกษาภายใต้สังคมทางเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น
ปัจจัยสำคัญ อยู่ที่ 2 ส่วนหลักๆ ก็คือ ระบบ และ เครื่องมือ
ในบทนี้เราจะมาศึกษาในส่วนของ
เครื่องมือและอุปกรณ์ ทางเทคโนโลยีทางการศึกษา กัน
ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษามีสองลักษณะที่เน้นหนักแตกต่างกัน
คือ
1. เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง
การประยุกต์หลักการวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์ให้เป็นวัสดุ เครื่องมือ
และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการเสนอ แสดง
และถ่ายทอดเนื้อหาทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความหมายนี้พัฒนามาจากความคิดของกลุ่มนักโสต-ทัศนศึกษา
2. เทคโนโลยีการศึกษามีความหมายโดยตรงตามความหมายของเทคโนโลยี
คือ ศาสตร์แห่งวิธีการ หรือการประยุกต์วิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษา โดยคำว่า”วิทยาศาสตร์”ในที่นี้มุ่งเน้นที่วิชาพฤติกรรมศาสตร์
เพราะถือว่าพฤติกรรมศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งเช่นเดียวกับวิชาฟิสิกส์ เคมี
ชีววิทยา เป็นต้น
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษา
การนำนวัตกรรม
และเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาและใช้ในการเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงความสำคัญ 3 ประการ คือ
1. ประสิทธิภาพ(Efficiency)
ในการเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนผู้สอนได้เรียนและได้สอนเต็มความสามารถเต็มหลักสูตรเต็มเวลาด้วยความพึงพอใจ
เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์เต็มความสามารถ (Full Energy) และเกิดความพอใจ
(Satisfaction) เป็นที่ได้ใช้สื่อนั้น
2.ประสิทธิผล(Productivity)
ในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดจุดประสงค์ไว้ซึ่งนักเรียนเกิดการเรียนรู้บรรลุจุดประสงค์ได้ดีกว่า
สูงกว่าไม่ใช้สื่อนั้น และ
3. ประหยัด (Economy) ในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน
ต้องคำนึงถึงสภาพความเหมาะสมตามฐานะแล้ว จะต้องประหยัด นั่นคือ
ประหยัดทั้งเงินประหยัดเวลา และประหยัดแรงงาน
ความหมายของสารสนเทศ
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่าย ๆ
เช่น หาค่าเฉลี่ยหรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น
เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไป
ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกัน
เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหตือตอบ ปัญหาต่าง ๆ ได้ สารสนเทศประกอบด้วยข้อมูลเอกสาร
เสียง หรือรูปภาพต่างๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ใน รูปที่มีความหมาย
สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
สารสนเทศ (information) เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น
สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย
ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค
ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข
การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้
และการแทนความหมาย
ปัจจุบันผู้คนพูดเกี่ยวกับยุคสารสนเทศว่าเป็นยุคที่นำไปสู่ยุคแห่งองค์ความรู้หรือปัญญา
นำไปสู่สังคมอุดมปัญญา หรือสังคมแห่งสารสนเทศ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ
แม้ว่าเมื่อพูดถึงสารสนเทศ เป็นคำที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สองสาขา คือ
วิทยาการสารสนเทศ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งคำว่า "สารสนเทศ"
ก็ถูกใช้บ่อยในความหมายที่หลากหลายและกว้างขวางออกไป และมีการนำไปใช้ในส่วนของ
เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การประมวลผลสารสนเทศ
สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล
เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ สารสนเทศ จึงหมายถึง
ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้
สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี
การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่น อาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้
ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุม
กำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง
นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ
การจัดเก็บข้อมูลที่ดี
จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บ และมีรูปแบบเดียวกัน
ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเอง
นอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่เก็บข้อมูลSaracevic,
Tefko
ซาเรซวิค และวูด (Saracevic
and Wood 1981 : 10) ได้ให้คำนิยามสารสนเทศไว้ 4 นิยาม ดังนี้ (Saracevic, Tefko และWood,
Judith B)
1. Information is a selection from a set of available
message, a selection which reduces uncertainty.
สารสนเทศ คือ การเลือกสรรจากชุดของข่าวสารที่มีอยู่
เป็นการเลือกที่ช่วยลดความไม่แน่นอน หรือกล่าวได้ว่า สารสนเทศ คือ
ข้อมูลที่ได้มีเลือกสรรมาแล้ว (เป็นข้อมูลที่มีความแน่นอนแล้ว)
จากกลุ่มของข้อมูลที่มีอยู่
2. Information as the meaning that a human assigns to
data by means of conventions used in their presentation. สารสนเทศ
คือ ความหมายที่มนุษย์ (สั่ง) ให้แก ่ข้อมูล
ด้วยวิธีการนำเสนอที่เป็นระเบียบแบบแผน
3. Information is the structure of any text-which is
capable of changing the image-structure of a recipient. (Text is a collection
of signs purposefully structured by a sender with the intention of changing the
image-structure of recipient)
สารสนเทศ คือ โครงสร้างของข้อความใดๆ ที่สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ทาง
จินตภาพ (ภาพลักษณ์) ของผู้รับ (ข้อความ หมายถึง ที่รวมของสัญลักษณ์ต่างๆ
มีโครงสร้างที่มี จุดมุ่งหมาย โดยผู้ส่งมีเป้าหมายที่จะ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทาง
จินตภาพ (+ความรู้สึกนึกคิด) ของผู้รับ(สาร)
4. Information is the data of value in decision making.
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่มีค่าในการตัดสินใจ
ในวงการศึกษาไทย
คำว่า สารสนเทศ
นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายของคำว่าสารสนเทศไว้หลากหลายความหมาย
ในหลากหลายลักษณะ อาทิ
สารสนเทศ
หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว การประมวลผลที่ว่านี้ เช่น การวิเคราะห์
การจัดลำดับ การเรียงข้อมูล เป็นต้น
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์
หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ
วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถ นำไปใช้ประโยชน์ได้
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่าย ๆ เช่น
หาค่าเฉลี่ยหรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น
เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไป
ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกัน
เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหตือตอบ ปัญหาต่าง ๆ ได้
สารสนเทศประกอบด้วยข้อมูลเอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่างๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ใน
รูปที่มีความหมาย สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
สารสนเทศ คือข้อมูลที่มีการปรับเปลี่ยน (Convert) ด้วยการจัดรูปแบบ
(Formatting) การกลั่นกรอง (Filtering) และการสรุป (Summarizing) ให้เป็นผลลัพธ์ที่มี
รูปแบบ (เช่น ข้อความ เสียง รูปภาพ หรือวีดิทัศน์) และเนื้อหาที่ตรงกับ
ความต้องการ และเหมาะสมต่อการนำไปใช้ (Alter 1996 : 29, 65, 714)
สารสนเทศ
คือตัวแทนของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล (Process) การจัดการ
(Organized) และการผสมผสาน (Integrated) ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Post 1997 : 7)
สารสนเทศ
คือข้อมูลที่มีความหมาย (Meaningful) หรือเป็นประโยชน์ (Useful)
สำหรับบางคนที่จะใช้ช่วยในการ ปฏิบัติงานและการจัดการ องค์การ (Nickerson
1998 : 11)
สารสนเทศ
คือข้อมูลที่ผ่านการปรับเปลี่ยน (Converted) มาเป็นสิ่งที่มีความ
หมาย (meaningful) และเป็น ประโยชน์ (Useful) กับเฉพาะบุคคล (O’Brien 2001 : 15)
สารสนเทศ
คือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล หรือข้อมูลที่มีความหมาย (McLeod,
Jr. and Schell 2001 : 12)
สารสนเทศ
คือข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายต่อผู้รับ
และมีคุณค่าอันแท้จริง หรือ คาดการณ์ว่าจะมีค่าสำหรับการดำเนินงาน
หรือการตัดสินใจใน ปัจจุบัน หรืออนาคต (ครรชิต มาลัยวงศ์ 2535
: 12)
สารสนเทศ
คือเรื่องราว ความรู้ต่างๆ
ที่ได้จากการนำข้อมูลมาประมวลผลด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง และมี การผสมผสานความรู้
หรือหลักวิชาที่เกี่ยวข้อง หรือความคิดเห็น ลงไปด้วย (กัลยา อุดมวิทิต 2537
:3)
ความสำคัญของสารสนเทศ
สารสนเทศเป็นปัจจัยสำคัญของโลกปัจจุบัน
ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาการเมืองเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนามนุษย์แลสังคมในทุกระดับทำให้บุคคลสามารถเสริมสร้างความรู้
ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวัน ทั้งด้านการงานและชีวิตส่วนตัว
ตลอดจนแนวทางแก้ไข การวางแผนและการตัดสินได้อย่างเด่นชัดผู้ใดที่ใฝ่รู้และได้รับ
สารสนเทศที่มีคุณค่า ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ผู้นั้นย่อมได้รับชัยชนะเหนือผู้อื่นและจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและการทำงานของมนุษย์
ช่วยลดช่องวางความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้
ทำให้เกิดสังคมยุคสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
และโทรคมนาคมในการทำงานการใช้ชีวิตประจำวัน
และการเรียนรู้ดังจะเห็นได้ดังจากบริบทของคำต่างๆที่ใช้ เช่น สำนักงานอัตโนมัติ
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การศึกษาทางไกลผ่านเครือข่าย
การติดต่อสื่อสารทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และการแพร่กระจ่ายข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ตและเว็บสิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่ง
ของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมสารสนเทศ
ซึ่งเป็นสังคมที่มุ่งเน้นคุณค่าของข้อมูลข่าวสาร มีการจัดเก็บและใช้ประโยชน์
มีการวิจัยและพัฒนาเพื่อค้นคว้าหาข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ กันตลอดเวลา
และเกิดข้อมูลข่าวสารใหม่ที่มีความสำคัญต่อการวิจัยและพัฒนาต่อไป ในทางกลับกัน
เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดช่องว่างทางเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มมากขึ้น
เกิดความเหลื่อมล้ำกันของโอกาสและความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
จากการที่เทคโนโลยีสารสนเทศแพร่กระจายไปยังประชาชนของโลกได้ไม่ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
จึงเกิดช่องว่างระหว่างผู้มีข่าวสารและผู้ไร้ข่าวสารซึ่งเป็นสาระที่จำเป็นต้องเร่งแก้ไข
ยิ่งกว่านั้นในสังคมปัจจุบัน
ความรู้ใหม่มีมากมายเกินกว่าจะทำการถ่ายทอดหรือจดจำข้อหาสาระได้หมด
อีกทั้งวิทยาการและความรู้ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน
การเรียนรู้ทักษะสารสนเทศในสังคมยุคสารสนเทศจึงจำเป็น และสำคัญ
ผู้เรียนต้องมีทักษะการสืบค้น ทักษะการติดต่อสื่อสาร และทักษะการจัดเก็บข้อมูล
ควบคู่ไปกับทักษะทางด้านภาษา เพื่อใช้ในการศึกษาและการติดต่อสื่อสาร
ทักษะการเรียนดังกล่าวเป็นสิ่งที่ต้องเน้นปลูกฝังให้กับเยาวชน
เพื่อให้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ตลอดชีวิต
หลักการ ทฤษฎี แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ประกอบด้วย1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้ ได้มาจาก 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มพฤติกรรมและกลุ่มความรู้
1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล ขึ้นอยู่กับสภาพสังคมและวัฒนธรรม ทำให้มีพฤติกรรมที่ออกมาแตกต่างกัน
1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ ประกอบด้วย ทฤษฎีของเปียเจท์ บรูนเนอร์ อิริคสัน กีเซล
2. ทฤษฎีการสื่อสาร รศ.ดร.สาโรช โศภี ได้กล่าวว่า การสื่อสาร (communication ) คือกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญญลักษณ์ สัญญาน หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน ซึ่งประกอบด้วย ผู้ส่งสาร ข้อมูล ข่าวสาร สื่อ และผู้รับสื่อ
3. ทฤษฎีระบบ จัดเป็นสาขาวิชาเกิดขึ้นช่วงปลายทศวรรษที่ 20 ทฤษฎีระบบเป็นสาขาวิชาที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยแนวความคิดหลายสาขา โดยทำแนวคิดจากหลายสาขาวิชามาประยุกต์ผสมผสานสร้างเป็นทฤษฎีระบบขึ้นมา
4. ทฤษฎีการเผยแพร่ กฤษมันท์ วัฒนาณรงค์(2550: หน้า 32-41) กล่าวว่า ทฤษฎีการเผยแพร่นั้น เกิดจากการผสมผสานทฤษฎีหลักการและความรู้ความจริงจากหลายสาขาวิชาที่มีศาสตร์เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ แต่ละศาสตร์ก็จะมีส่วนประกอบเฉพาะในส่วนที่เป็นนวัตกรรมของศาสตร์นั้นๆ ผลจากการรวบรวมกระบวนการวิธีการและทฤษีการเผยแพร่ของศาสตร์ต่างๆนำไปสู่การสร้างทฤษฎีการเผยแพร่ขึ้น
การจัดการเรียนการสอนปัจจุบันได้นำทฤษฎีและหลักการแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะต่างๆมาใช้ร่วมกันอย่างผสมผสานเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพของการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาการใช้วัสดุอุปกรณ์เข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอนได้มีบทบาทอย่างมากในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสอน ให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่มั่นใจได้ว่าจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 4 ประการ คือ
1. ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแข็งขัน ด้วยความพึงพอใจและเต็มใจที่จะเรียนรู้
2. ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลัน ช่วยกระตุ้นผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้ต่อไป
3. ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงด้วยการให้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จเรียนรู้ด้วยความพอใจ
4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย ไม่เกิดความคับข้องใจ เรียนด้วยความสนใจ พอใจ และไม่เบื่อหน่าย
ความหมายของนวัตกรรม
และเทคโนโลยีทางการศึกษา
“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ
หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว
ให้ทันสมัย และใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
“นวัตกรรมการศึกษา (Educational
Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา
และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมาย ถึง
ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุม
องค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
(boonpan edt01.htm)
แนวคิดรวบยอดของเทคโนโลยีทางการศึกษา ซึ่งอาจจะพิจารณาเป็น 2
ด้าน คือ 1.
ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ
ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ
ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ
มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้
มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้
โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
2.
ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา
การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม
เพื่อให้ผู้เรียน
เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้
เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ
หรืออุปกรณ์ แต่เพียงอย่างเดียว (boonpan edt01.htm)
สรุป
หลักการ/ทฤษฎี/วิธีการ/แนวคิด ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้
1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล
1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ
ทฤษฎีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม
นักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มนี้ เช่น chafe Watson Pavlov, Thorndike, Skinner ซึ่งทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) ทฤษฎีการเสริมแรง (Stimulus-Response Theory)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ พอฟลอบ (Pavlov) กล่าวไว้ว่า ปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายของคนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว สิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นได้ ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม
ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้ คือ ธอร์นไดค์ (Thorndike) ซึ่งกล่าวไว้ว่า สิ่งเร้าหนึ่ง ๆ ย่อมทำให้เกิดการตอบสนองหลาย ๆ อย่าง จนพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุด เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญคือ
1. กฎแห่งการผล (Law of Effect)
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
3. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
ธอร์นไดค์ นักการศึกษาและจิตวิทยาชาวเยอรมัน ผู้ให้กำเนินทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ ได้เสนอหลักการ ภารกิจของการสอนของครูไว้ 2 ประการ และเสนอหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้ 5 ประการ ภารกิจการสอนของครู ควรจะดำเนินไปตามแนวของกฎ 2 ประการ คือ
1. ควรจัดเรื่องหรือสิ่งที่จะสอนต่าง ๆ ที่ควรจะไปด้วยกัน ให้ได้ดำเนินไปด้วยกัน
2. ควรให้รางวัลการสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสม และไม่ควรให้ความสะดวกใด ๆ ถ้าไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสมขึ้นมาได้
ธอร์นไดค์ ได้กำหนดหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนไว้ 5 ประการ ดังนี้
1. การกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง (Self – Activity)
2. การทำให้เกิดความสนใจด้วยการจูงใจ (Interest Motivation)
3. การเตรียมสภาพที่เหมาะสมทางจิตภาพ (Preparation and Mentalset)
4. คำนึงถึงเรื่องเอกัตบุคคล (Individualization)
5. คำนึงถึงเรื่องการถ่ายทอดทางสังคม (Socialization)
หลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาในแง่ของการเรียนรู้
หลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ 10 ประการ คือ
1.หลักการจูงใจ สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาจะมีพลังจูงใจที่สำคัญในกิจกรรมการเรียนการ สอน เพราะเป็นสิ่งที่สามารถผลักดัน ส่งเสริมและเพิ่มพูนกระบวนการจูงใจ ที่มีอิทธิพลต่อพลังความสนใจ ความต้องการ ความปรารถนา และความคาดหวังของผู้เรียนที่จะศึกษา
2.การพัฒนามโนทัศน์ (Concept) ส่วนบุคคล วัสดุการเรียนการสอนจะช่วยส่งเสริมความ คิด ความเข้าใจแก่ผู้เรียนแต่ละคน ดังนั้นการเลือก การผลิตและการใช้วัสดุการเรียนการสอน ควรจะต้องสัมพันธ์กับความสามารถของผู้สอนและผู้เรียน ตลอดถึงจุดมุ่งหมายของการเรียนที่กำหนด
3.กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติเกี่ยว กับสื่อจะเป็นแบบลูกโซ่ในกระบวนการเรียนการสอน ดังนั้นการเลือก การใช้การตอบสนอง และผลิตผลจึงจะต้องพิจารณาเป็นแผนรวมเพื่อสนองความต้องการและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนอย่างสอดคล้องกัน
4.การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา ผู้เรียนจะเรียนได้ดีจากสื่อ เทคโนโลยีที่จัดระเบียบเป็นระบบ และมีความหมายตามความสามารถของเขา
5.การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ ผู้เรียนต้องการมีส่วนร่วม และการปฏิบัติด้วยตนเองมากที่สุด จากกิจกรรมการเรียนการสอน เพราะเป็นหนทางที่จะทำให้สามารถพัฒนาการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นการจัดสื่อเทคโนโลยีควรคำนึงถึงหลักการเหล้านี้
6.การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ สื่อที่สามรารถส่งเสริมการฝึกซ้ำและมีการ เปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าอยู่เสมอ จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจ เพิ่มความคงทนในการจำยั่วยุความสนใจและทำให้เกิดรูปแบบการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างกว้างขวาง
7.อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน อัตราหรือช่วงเวลาการเสนอข้อความรู้ต่างๆ จะ ต้องมีความสอดคล้องกับ ความสามารถอัตราการเรียนรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
8.ความชัดเจน ความสอดคล้อง และความเป็นผล สื่อที่มีลักษณะชัดเจน สอดคล้องกับ ความต้องการ และสัมพันธ์กับผลที่พึงประสงค์ของผู้เรียนจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี
9.การถ่ายโยงที่ดี โดยที่การเรียนรู้แบบเก่าไม่อาจถ่ายทอดไปสู่การเรียนรู้ใหม่ได้อย่าง อัตโนมัติ จึงควรจะต้องสอนแบบถ่ายโยงเพราะผู้เรียนต้องการแนะนำในการปฏิบัติ เพ่อประยุกต์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งผู้สอนจะต้องวางแผนจัดประสบการณ์ที่จะส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้ใหม่ และเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้นั้นที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในสถานการณ์จริง
10.การให้รู้ผล การเรียนรู้จะดีขึ้น ถ้าหากสื่อเทคโนโลยีช่วยให้ผู้เรียนรู้ผลการกระทำทันที หลังจากที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมไปแล้ว